Labio Science Hub Medical ยาลดกรด

ยาลดกรด

ยาลดกรด

บางทีรับประทานอาหารเสร็จแล้วรู้สึกไม่สบายท้อง รู้สึกจุกเสียดแน่นเฟ้อบริเวณท้องทั้งยังมีอาการแสบร้อนทรวงอกจากกรดเกินในกระเพาะอาหารซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดจากอาหารที่ไม่ย่อยแผลในกระเพาะอาหารรวมไปถึงโรคกรดไหลย้อน ซึ่งยาสามัญประจำบ้านที่ขาดไม่ได้เลยและทุกบ้านจะต้องมีนั่นคือยาลดกรด ถึงแม้ว่ายาลดกรดจะสามารถซื้อจากร้านขายยาทั่วไปได้แต่ก็อาจจะมีบางคนที่ไม่รู้ถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้องดังนั้นวันนี้มาดูกันว่ายาลดกรดคืออะไรและมีวิธีใช้อย่างไร

ยาลดกรด (Antacids)

ยาลดกรด (Antacids) เป็นกลุ่มยาที่ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหารให้มีความเป็นกลางมากขึ้น เนื่องจากกระเพาะอาหารหลั่งกรดมากเกินไป โดยใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย จุกแน่นลิ้นปี่ แสบร้อนกลางทรวงอกจากกรดเกินในกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร และโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โดยออกฤทธิ์ไวในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ

ตัวยาอาจผสมกับส่วนผสมอื่นที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง (Alkalis) เช่น อะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ (Aluminium Hydroxide) แมกนีเซียม คาร์บอเนต (Magnesium Carbonate) แมกนีเซียม ไตรซิลิเกต (Magnesium Trisilicate) แคลเซียม (Calcium) หรืออาจผสมกับยาตัวอื่นอย่างไซเมทิโคน (Simethicone) ที่ช่วยในการขับลม และแอลจิเนต (Alginates) เป็นสารเหนียวข้นป้องกันกรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนไปในหลอดอาหาร จึงทำให้แบ่งออกย่อยได้อีกหลายประเภทและบางชนิดก็เรียกตามชื่อเรียกของส่วนผสมหลักในยา

วิธีการใช้ยาลดกรด

– ปริมาณยา ปริมาณของยาในกลุ่มนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน โปรดรับประทานยาตามแพทย์สั่งหรือตามฉลากยา นี่เป็นข้อมูลทั่วไป ไม่ควรเพิ่มหรือลดปริมาณด้วยตนเอง ต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง

ปริมาณยาที่คุณรับประทานนั้นขึ้นกับความแรงของยา และจำนวนครั้งที่รับประทานต่อวัน ช่วงห่างระหว่างมื้อ และช่วงเวลาที่ใช้ยานั้นขึ้นกับโรคของคุณ

– ยาลดกรดชนิดเคี้ยว ควรเคี้ยวยาให้ละเอียดก่อนกลืนเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้เร็วและมีประสิทธิภาพ

– หากลืมรับประทานยาให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้แต่ถ้าใกล้เวลารับประทานมื้อต่อไปให้รอรับประทานมื้อต่อไปได้เลยโดยไม่ควรเพิ่มยาเป็นสองเท่า

– การเก็บรักษาควรเก็บไว้ให้พ้นจากมือเด็กโดนเก็บยาในภาชนะปิดสนิทที่อุณหภูมิห้องผลจากความร้อนความชื้นและแสงแดดและไม่ควรนำไปแช่เย็น

ข้อควรระวัง

– ไม่ควรรับประทานยานี้เกินสองเดือนเว้นแต่แพทย์สั่งยาลดกรดควรใช้เพื่อลดอาการเป็นครั้งคราว

– หากใช้ยาลดโกรธแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา

– การใช้ยาลดกรดที่มีแมกนีเซียมหรือโซเดียมไบคาร์บอเนตบ่อยๆ หรือปริมาณมากอาจทำให้ระบายท้อง โดยขึ้นกับความไวต่อยาของบุคคลนั้น

อย่างไรก็ตามยามีทั้งผลดีและผลข้างเคียงแต่หากรับประทานตามที่แพทย์สั่งจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้น้อยมากแต่หากรับประทานในจำนวนมากและนานเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการได้ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติอะไรกับร่างกายควรไปพบแพทย์ก่อนที่จะซื้อยามารับประทานเองเพื่อความปลอดภัยของเรา

Related Post

คลินิกมีบุตรยาก

มาทำความรู้จักภาวะมีบุตรยากมาทำความรู้จักภาวะมีบุตรยาก

ความมุ่งหวังของการสร้างครอบครัวคือการมีบุตร มีทายาท เพื่อสืบทอดสกุล ซึ่งการเตรียมพร้อมก่อนที่จะมีบุตร จะต้องมีการปรึกษาแพทย์ เพื่อเตรียมร่างกายให้แข็งแรง แต่สำหรับบางคู่แล้ว เตรียมร่างกายจนท้อ ลูกๆ ก็ยังไม่มาสักที แต่งงานอยู่ด้วยกันมาเกือบ 5 ปี ก็ไม่ตั้งครรภ์ แบบนี้เข้าขั้นภาวะมีบุตรยาก แล้วภาวะมีบุตรยากคืออะไร วันนี้ไปลองทำความรู้จักพร้อมๆ กันเลยดีกว่า ภาวะมีบุตรยาก ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง การที่คู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ทั้งที่ไม่ได้คุมกำเนิด และมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี โดยทั่วไปแล้วฝ่ายชายจะมีการสร้างเชื้ออสุจิที่ลูกอัณฑะ เชื้ออสุจิจะทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายชาย นำพาเอาลักษณะทางพันธุกรรมถ่ายทอดไปสู่บุตรต่อไป ส่วนฝ่ายหญิงประมาณกลางรอบระดูไข่จะสุกเต็มที่และเกิดการตกไข่รอบละหนึ่งใบ ในขณะเดียวกันเยื่อบุโพรงมดลูกจะมีการเจริญตัวหนาขึ้นจากการกระตุ้นของฮอร์โมนจากรังไข่

ยาแก้อักเสบ

การใช้ยาแก้อักเสบการใช้ยาแก้อักเสบ

หลายคนคงคุ้นและได้ใช้อยู่เป็นประจำกับ “ยาแก้อักเสบ” ที่ช่วยบรรเทาอาการอักเสบและบวม ซึ่งมีขายตามร้านขายยาทั่วไป ซึ่งบางคนอาจจะยังเข้าใจผิดคิดว่าเป็นยาต้านจุลชีพ ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ ทำให้บางครั้งบางทีก็ซื้อมาผิด และใช้อย่างไม่ถูกต้อง ในวันนี้จะพามาทำความรู้จักและวิธีใช้ยาแก้อักเสบที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายกันเลย ยาแก้อักเสบคืออะไร?  ยาแก้อักเสบ หรือยาต้านการอักเสบ เป็นยาในกลุ่มช่วยลดการอักเสบ ซึ่งมักช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมจากการอักเสบได้ด้วย โดยยาแก้อักเสบที่ใช้กันบ่อยเป็นยาแก้อักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) หรือที่เรียกกันว่าเอ็นเสด ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่แล้วการอักเสบไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่มักเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น คออักเสบจากเชื้อไวรัส ผิวหนังอักเสบจากการแพ้แดดหรือสารเคมี หรือการอักเสบของกล้ามเนื้อจากการยกของหนัก ตัวอย่างยาแก้อักเสบ

ยานอนหลับ

ยานอนหลับ อันตรายกว่าที่คิด ยานอนหลับ อันตรายกว่าที่คิด 

การใช้ยาที่ดีและได้ผลที่สุดคือการได้รับคำปรึกษาการใช้ยาจากแพทย์ผู้รักษา หรือเภสัชกรที่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการใช้ยานอนหลับอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มักจะนอนไม่หลับแล้วใช้ยานอนหลับเป็นตัวช่วยให้การนอนหลับ  ยานอนหลับเป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ จากภาวะต่างๆเช่นความเครียด ความวิตกกังวล เพื่อรักษาโรคต่างๆ หรือ มีสิ่งเร้ารบกวนการนอนทำให้หลับยาก ยานอนหลับไม่ได้ทำให้หลับอย่างเดียวแต่ยังมีฤทธิ์อย่างอื่นร่วมอยู่ด้วย สำหรับผู้ที่ต้องใช้ยาจึงต้องได้รับใบสั่งจากแพทย์เท่านั้นเนื่องจากมีกฎหมายออกมาครอบคลุมการใช้ยา ยานอนหลับไม่ใช่ยาชนิดใดชนิดหนึ่งแต่เป็นชื่อของกลุ่มยาที่มีผลโดยตรงหรือผลข้างเคียง ทำให้เกิดอาการง่วงและหลับง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นยานอนหลับจึงมีหลายชนิด และออกฤทธิ์ต่างกันออกไป ซึ่งแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้ การใช้ยานอนหลับในระยะที่สั้นโดยได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หรือแพทย์สั่งใช้ในการรักษาโรคจะไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายเท่าไหร่นัก แต่สำหรับคนที่ใช้ด้วยตนเองในปริมาณที่มากและระยะเวลายาวนานก็จะมีผลเสียตามมาด้วยเช่นกัน การใช้ยานอนหลับเป็นเวลานานทำให้คุณภาพการนอนแย่ลง ผลข้างเคียงที่เห็นได้ชัดคือเวลากลางวันอาจมีอาการซึมเศร้า ไม่แจ่มใส ปวดศรีษะ มึนงง อาจจะมีอาการท้องผูกหรือท้องเสียร่วมด้วย การรับยาเกินขนาดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายนั้นอาจถึงขั้นเป็น โรคอัลไซเมอร์ ได้ในอนาคตและขั้นร้ายแรงที่สุดอาจทำให้เกิดการกดการหายใจจนเสียชีวิตในที่สุด